วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

ประวัติผู้แต่ง

  ายนรินทรธิเบศร์ เดิมชื่อ อิน ได้รับราชการเป็น มหาดเล็ก ฝ่ายพระราชวังบวร (วังหน้า) ในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพรมีบรรดาศักดิ์ที่ นายนรินทรธิเบศร์ จึงมักเรียกกันว่า นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) คือใส่ชื่อเดิมเข้าไปด้วยนายนรินทรธิเบศร์เป็นผู้แต่งนิราศคำโคลง ที่เรียกกันว่านิราศนรินทร์ตามชื่อผู้แต่ง ทว่าประวัติของนายนรินทรธิเบศร์ไม่ปรากฏรายละเอียดมากนัก ทราบแต่ว่ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 2 เท่านั้น
     ในชั้นหลังเราได้ทราบประวัติของท่านจากหนังสือนิราศนรินทร์ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ โดยทรงเล่าเพิ่มเติมว่า “…นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ไม่ใคร่จะได้แต่งหนังสือไว้มากนัก และแต่งไว้บ้างก็ล้วนแต่เป็นโคลง ที่ปรากฏว่าเป็นกลอนนั้นน้อยเต็มที โคลงยอพระเกียรติตอนท้ายหนังสือปฐมมาลา ก็เป็นฝีปากของนายนรินทร์ (อิน) จึงสันนิษฐานว่านายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ชอบโคลงมากกว่าคำประพันธ์อื่นๆผลงานการประพันธ์ของนายนรินทรธิเบศร์นั้นไม่ปรากฏแพร่หลาย แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ว่า “..ส่วนที่แต่งไว้ในที่อื่นๆ นั้น ไม่มีที่ใดจะเปรียบกับโคลงนิราศนี้ได้” แต่ทรงมิได้ระบุว่านายนรินทร์ได้แต่งเรื่องอื่นใดไว้นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีเพลงยาวอีกเรื่องหนึ่งที่กล่าวว่าเป็นของนายนรินทรธิเบศร์ นั่นคือเพลงยาวของนายนรินทร์

ลักษณะคำประพันธ์

  

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทที่8 เรื่องมหาชติหรือมหาเวสสันดร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บทที่8 เรื่องมหาชาติ หรือ มหาเวสสันดร

ความเป็นมา

  พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมี
นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และร้อยแก้ว รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับ
ประวัติผู้แต่ง
-                    สำนักวัดถนน กัณฑ์ทานกัณฑ์
-                   สำนักวัดสังข์กระจาย กัณฑ์ชูชก
-                   พระเทพโมลี (กิ่น) กัณฑ์มหาพน
-                   เจ้าพระยาพระคลัง (หน) กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี
หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหารย์  ทำให้พระประยูรญาติละทิฐิยอมถวายบังคม  ก็บังเกิดฝนโบกขรพรรษ  พระภิกษุทั้งหลายจึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ตรัสเล่าว่า  ฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต  พระองค์จึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก   หรือเรื่องมหาชาติ  ทั้ง 13 กัณฑ์  ตามลำดับ  ดังนี้
       กัณฑ์ที่ 1 ทศพรา  พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี  ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร  แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสีของพระอินทร์  เมื่อจะสิ้นพระชนมายุจึงขอกัณฑ์ทศพรจากพระอินทร์ได้ 10 ประการ  ทั้งยังเคยโปรยผงจันทร์แดง  ถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้าและอธิฐานให้ได้เกิดเป็นมารดาพระพุทธเจ้าด้วย พร 10 ประการนั้นมีดังนี้ อ่านต่อ

บทที่7 เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บทที่7 เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์




ความเป็นมา
    เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6 ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง
   แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์

โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจริยภาพทางด้าน  อ่านต่อ

บทที่6 เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บทที่6 เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ความเป็นมา
             บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติผู้แต่ง
             สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล ในงาน  อ่านต่อ

บทที่5 เรื่อง หัวใจชายหนุ่ม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บทที่5 เรื่อง หัวใจชายหนุ่ม

.ความเป็นมา
        หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิตเมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน
.ประวัติผู้แต่ง
         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖
แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครองการต่างประเทศ และโดยเฉาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภททรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
.ลักษณะคำประพันธ์
          หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับในเรื่องดังนี้ อ่านต่อ

บทที่4 เรื่อง นิราศนริทร์คำโคลง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บทที่4 เรื่อง นิราศนริทร์คำโคลง
ความเป็นมา
      นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ
      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า นิราศหมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ
 ๑.๒ เนื้อหาของนิราศ
      เนื้อหานิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รักเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกลไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม
      อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าวรรคดีนิราศมักมีความเศร้าเพราะร้างรักเป็นแก่นเรื่องของรายละเอียดอื่นๆ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น
 ๑.๓ นางในนิราศ
      สำหรับนางในนิราศที่กวีพรรณนานั้น อาจมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ได้แต่กวีถือว่า นางอันเป็นที่รักเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะเอื้อให้กวีแต่งนิราศได้ไพเราะในบางกรณกวีเมื่อเดินทางไกลและแม้ว่าจะไม่ได้จากนางอันเป็นที่รักจริง เพราะมีนางนั้นติดตามาด้วย แต่กวีก็ยังต้องครวญถึงนางตามแบบแผนของนิราศ
 ๑.๔ คำประพันธ์ในนิราศ
         วรรณคดีประเภทนิราศอาจแต่งด้วยคำป อ่านต่อ